วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

Postmodern

"Postmodernism"

Portmodern Ecological Art



Postmodernism เป็นถ้อยคำและกรอบความคิดที่ซับซ้อน เกิดขึ้นในแวดวงวิชาการตั้งแต่กลางปี ๑๙๘๐ Postmodernism มีคำจำกัดความที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะมันเป็นแนวคิดหนึ่งที่ปรากฏในความหลากหลายของกฏเกณฑ์หรือแขนงวิชาการต่างๆ รวมถึงศิลปะ สถาปัตยกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ วรรณคดี สังคมวิทยา สื่อสารมวลชน แฟชั่น และเท็คโนโลยี และยากที่จะระบุช่วงเวลาและประวัติศาสตร์ของมัน เพราะไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อใด อาจเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการการเริ่มคิดถึง -postmodernism ก็โดยการคิดถึงสิ่งที่เกี่ยวกับความทันสมัย-modernism ความเปลี่ยนแปลงเกิดจากการเริ่มและขยายความจากความทันสมัย -Modernism มีสองประเด็นหลัก หรือสองแนวทางในคำจำกัดความ ทั้งสองนี้เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในแนวคิด -postmodernism.




ประเด็นแรกหรือคำจำกัดความแรกของ -modernism นั้นมาจากการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเรื่องสุนทรียศาสตร์ในตราประทับของ "modernism." การเคลื่อนไหวนี้นำไปสูจุดหมายปลายทางของแนวคิดศิลปะตะวันตกของศตวรรษที่ ๒๐ (แม้ว่าร่องรอยจะเริ่มปรากฏในช่วงของศตวรรษที่ ๑๙ ก็ตาม) Modernism นั้น อย่างที่ทราบกัน เป็นการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงของแขนงวิชา ทัศนศิลป์ ดนตรี วรรณคดี และการละคอน ซึ่งต่อต้านแนวคิดแบบ Victorian ศิลปะเดิมที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ในช่วง "high modernism," ระหว่างปี 1910 ถึง 1930 งานวรรณกรรมในแบบฉบับของ modernism ช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงและทบทวน การเขียนโคลงกลอนและนิยายกันใหม่ เช่นผลงานของ Woolf, Joyce, Eliot, Pound, Stevens, Proust, Mallarme, Kafka, และ Rilke ท่านเหล่านี้ถูกจัดเป็นผู้ริเริ่มของวรรณกรรม -modernism แห่งศตวรรษที่ ๒๐.

จากมุมมองทางด้านวรรณกรรม ลักษณะสำคัญของ modernism ประกอบด้วย:


1. เน้นเรื่องความรู้สึกล้วนๆ-impressionism และการเขียนในเชิงนามธรรม (เช่นเดียวกันงานทัศนศิลป์) การเน้นที่เห็น "อย่างไร" (หรือการอ่านหรือการรับรู้ด้วยตัวมันเอง) มากกว่า "อะไร" ที่มองเห็น ตัวอย่างนี้คือ งานเขียนที่เต็มไปด้วยกระแสของจิตที่มีสำนึก (stream-of-consciousness writing)
2. ความเปลี่ยนแปลงอันหนึ่ง คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากความรอบรู้ในการบรรยายของบุคคลที่สาม มุมมองที่เฉพาะเจาะจง และเงื่อนไขทางศีลธรรมที่ชัดเจน เช่น เรื่องราวการบรรยายของ Faulkner เป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวเขียนแบบ modernism.
3. ความกำกวมของความแตกต่างระหว่างเรื่องราวที่เคยสามารถอ่านได้จากภาพ กับบทกลอน ที่เพิ่มความเป็นสารคดี (เช่นงานเขียนของ T.S. Eliot ) และบทรอยแก้ว ที่ค่อนไปทางโคลงกลอนมากขึ้น (เช่นงานเขียนของ Woolf หรือ Joyce)
4. เน้นรูปแบบที่แยกออกเป็นส่วนๆ การบรรยายเรื่องราวที่ไม่ต่อเนื่องและการสุมรวมปะติดปะต่อของสิ่งที่แตกต่างกัน
5. โอนเอียงในทำนองการสะท้อนกลับ หรือรู้สำนึกได้ด้วยตัวเอง ที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะ เพื่อที่งานแต่ละชิ้นจะได้เรียกร้องความสนใจเฉพาะตามสถานะของการรังสรรค์ในวิธีการที่เป็นพิเศษ
6. รูปแบบทางสุนทรีย์เน้นที่ความน้อยสุด (minimalist designs ..เช่นในงานประพันธ์ของ William Carlos Williams) ส่วนใหญ่ปฏิเสธทฤษฎีสุนทรีย์ศาสตร์ที่เคร่งครัดแบบเดิม สนับสนุนการสร้างสรรค์ที่เกิดจากการค้นพบด้วยตนเองตามธรรมชาติ
7. ปฏิเสธการแยกเป็นสองขั้ว เช่น สูง และ ต่ำ หรือวัฒนธรรมยอดนิยมเดิมๆ ในการเลือกใช้วัสดุในการผลิตงานศิลปะ และวิธีการนำเสนอ การเผยแพร่ และการบริโภคของงานศิลปะ


Postmodernism มีความคล้ายคลึงกันกับ modernism ตามความคิดที่เหมือนกันเหล่านี้คือ ปฏิเสธเส้นแบ่งระหว่างความสูง-ต่ำในรูปแบบของศิลปะ ปฏิเสธความแตกต่างในความเป็นศิลปวัตถุที่เคร่งครัด เน้นการหลอมรวมกับสิ่งที่คุ้นเคย กำมะลอ การแดกดัน และความขบขัน ในแง่ศิลปะ (และความคิด) ของ Postmodern มักไหลย้อนกลับและมีสำนึกของตนเอง เปราะบางและไม่ต่อเนื่อง (โดยเฉพาะโครงสร้างการบรรยายความ) ขัดแย้ง ในเวลาเดียวกัน และการเน้นรื้อเปลี่ยนโครงสร้าง ย้ายความเป็นศูนย์กลาง ตัดสิทธิ์ความเป็นประธาน แต่..แม้ในความเป็น -postmodernism ดูเหมือนจะคล้ายกับ -modernism ในหลายเรื่อง ความแตกต่างกันอยู่ที่ทัศนะคติในเรื่องนั้นๆ ดังเช่น Modernism โน้มเอียงไปที่ความเปราะบางในแง่ที่เกี่ยวกับจิตใจของมนุษย์และประวัติศาสตร์ (เช่นความคิดในงานประพันธ์เรื่อง The Wasteland ของ Woolf's To the Lighthouse) โดยเสนอว่า ความเปราะบางนั้นเป็นบางสิ่งที่เลวร้าย บางสิ่งที่เป็นความโทมนัสและเศร้าโศรกในความสูญเสีย งานของนักทันสมัย พยายามหยิบยกความคิดของงานศิลปะที่สนองความเป็นเอกภาพ ยึดเหนี่ยว และให้ความหมายในสิ่งที่สูญหายไปในชีวิตสมัยใหม่ ศิลปะจะสนองตอบในสิ่งที่สูญหายในสถาบันของความเป็นมนุษย์ Postmodernism ในทางกลับกัน ไม่เน้นความเปราะบางของโทมนัส สร้างทดแทน หรือไม่เกาะยึดไว้ แต่ค่อนไปทางเฉลิมฉลอง กระทำดังเช่นราวกับว่าโลกไร้ความหมาย? ไม่แสร้งทำให้ดูเหมือนว่าศิลปะสามารถให้ความหมายได้ กลับปล่อยให้เป็นเรื่องเล่นๆที่ไร้สาระ อีกแง่ในการมองความสัมพันธ์ระหว่าง modernism และ postmodernism คือการช่วยให้เกิดความกระจ่างในความแตกต่างบางอย่าง ในทัศนะของ Frederic Jameson, modernism และ postmodernism เป็นการก่อรูปทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับลัทธิความเป็นทุนนิยม Jameson อ้างสาระสำคัญของวลีสามอย่างของลัทธิทุนนิยม ที่กำหนดความประพฤติทางวัฒนธรรม (รวมศิลปะและวรรณกรรม) เป็นพิเศษคือ สาระแรก เกี่ยวกับตลาดทุนนิยม ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๘ จนถึงตลอดศตวรรษที่ ๑๙ ในยุโรปตะวันตก อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา (และปริมณฑลโดยรอบ) ในสาระแรกนี้รวมเอาการพัฒนาทางวิทยาการต่างๆ เช่น เครื่องจักร์ไอน้ำ และลักษณะของสุนทรีย์ศาสตร์พิเศษ ที่เรียกว่า ความจริงแท้ -realism. สาระที่สองเกิดต่อจากศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงศตวรรษที่ ๒๐ (ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) ในสาระนี้ การถือเอกสิทธิ์ของระบบทุนนิยม ด้วยการรวมตัวกันของเครื่องไฟฟ้าและพลังงานและกับความทันสมัย -modernism ในสาระที่สาม วลีของเขาคือว่า เราเดี๋ยวนี้คือนักบริโภคนานาชาติของระบบทุนนิยม (ที่เน้น การตลาด การขาย การบริโภคแบบรวมซื้อเพื่อขายต่อ ไม่ใช่เพื่อการผลิตก่อนแล้วขาย) รวมกันกับวิทยาการด้านนิวเคลียร์และไฟฟ้า และบรรณสานสัมพันธ์กันเป็น postmodernism ในเวลาเดียวกัน


ดังที่ Jameson บ่งชี้ลักษณะของ postmodernism ในแง่กรรมวิธีของการผลิตและเท็คโนโลยี ปัญหาของคำจำกัดความที่สองของ postmodernism ที่มีมาจากประวัติศาสตร์และสังคม มากกว่าวรรณกรรมหรือประวัติศาสตร์ศิลปะ แนวคิดนี้กำหนด postmodernism ในนามของการเข้าไปก่อรูปของสังคมทั้งหมด กำหนดทัศนะคติของสังคม/ประวัติศาสตร์ ที่ชัดเจน คือแนวคิดนี้ขัดแย้งกันในเชิง ระหว่าง "postmodernity" กับ "modernity" แทนที่จะเป็นระหว่าง "postmodernism" กับ "modernism."


อะไรคือความแตกต่าง? "Modernism" โดยทั่วไปอ้างถึงความเปลี่ยนแปลงทางสุนทรีย์ศาสตร์กว้างๆในศตวรรษที่ ๒๐ ขณะที่ "modernity" อ้างถึงรากฐานทางปรัชญา การเมือง และความคิดด้านจิรยะธรรม ซึ่งถือเป็นรากฐานของความคิดทางสุนทรีย์พื้นฐานของ modernism. "Modernity" มีความเก่าแก่กว่า "modernism" ในการอ้างถึงชื่อ "modern" ประการแรกกำหนดในสังคมวิทยาสมัยศตวรรษที่ ๑๙ หมายถึงความแตกต่างของยุคสมัยปัจจุบันกับยุคสมัยก่อนที่ผ่านมา ซึ่งให้ชื่อว่า "โบราณ-antiquity" นักวิชาการทั้งหลายมักโต้แย้งเมื่อยุค "modern" ที่แน่นอนเริ่มต้น และทำอย่างให้เกิดความแตกต่างระหว่างอะไรที่ทันสมัย และไม่ทันสมัย มันเลยดูเหมือนว่ายุคทันสมัยเริ่มต้นก่อนหน้า ที่นักประวัติศาสตร์จะมองเห็น แต่โดยทั่วไปแล้วยุคของ "modern" จะหมายรวมกันกับยุคพุทธิปัญญาของยุโรป -the European Enlightenment ซึ่งเริ่มคร่าวๆในกลางศตวรรษที่ ๑๘ (นักประวัติศาสตร์บางคนย้อนรอยของพุทธิปัญญานี้กลับไปในสมัยเรเนอร์ซองค์ -Renaissance หรือก่อนหน้านั้นเสียอีก และบางคนอาจเถียงว่าความคิดของสมัยพุทธปัญญานี้เริ่มต้นในศตวรรษที่ ๑๘ แต่สำหรับข้าพเจ้า (ผู้เขียนบทความนี้) มักกำหนดวันที่ของ "modern" จากปีค.ศ.1750 เพียงเพราะข้าพเจ้าจบการศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต จากโปรแกรมของมหาวิทยาลัย Stanford ที่ชื่อว่า "Modern Thought and Literature," โปรแกรมนี้เน้นที่งานวรรณกรรมหลังปีค.ศ. 1750).


รากฐานความคิดของพุทธิปัญญา -the Enlightenment โดยคร่าวๆ เป็นเช่นเดียวกับรากฐานความคิดของมนุษย์นิยม -humanism บทความของ Jane Flax ให้ข้อสรุปรากฐานของความคิดเหล่านี้ ถือเป็นหลักฐาน (หน้า 41) โดยข้าพเจ้าจะเพิ่มเติมสองสามอย่างในรายการของเธอ


1. มีเสถียรภาพ ติดต่อกันเป็นเรื่องราว รู้ได้ด้วยตนเอง รู้ได้ในจิตสำนึกของตนเอง มีเหตุ-ผล เป็นอิสระ และครอบคลุมกว้างขวาง ไม่เพียงแค่เงื่อนไขทางกายภาพ หรือไม่มีผลกระทบความแตกต่างในเนื้อหาใจความ ที่ตนเองรับรู้ได้
2. การรู้โดยตนเอง และรู้โลกผ่านเหตุผล มีสติ ในสภาพของจิตใจที่ให้ประโยชน์สูงสุดตามภววิสัย
3. วิธีการรู้ เกิดจากวัตถุประสงค์ของความมีเหตุ-ผลแห่งตนที่เรียก "วิทยาศาสตร์" สามารถบ่งบอกความจริงสากลที่เกี่ยวข้องกับโลก โดยไม่ละเลยความเป็นปัจเจกภาพของผู้รู้
4. ความรู้เกิดจากวิทยาศาสตร์คือ "ความจริง" และไม่เป็นที่สิ้นสุด
5. ความรู้/ความจริง เกิดโดยวิทยาศาสตร์ (ด้วยการรู้วัตถุประสงค์อย่างมีเหตุ-ผลด้วยตนเอง) จะนำพาไปสู่ความก้าวหน้าและสมบูรณ์ ในทุกสถาบันและในการปฏิบัติของมนุษย์ สามารถวิเคราะห์ได้จากวิทยาศาสตร์ (ของวัตุประสงค์/เหตุผล) และปรับปรุงได้เสมอ
6. เหตุผลคือ ผู้ตัดสินสูงสุดว่าอะไรเป็นความจริง อะไรที่ถูกต้อง และอะไรที่ดี (อะไรที่ถูกกฏหมายและอะไรที่มีคุณธรรม) อิสระภาพประกอบด้วยความเชื่อฟังในกฏเกณฑ์ที่ตรงกันกับความรู้ที่ค้นพบด้วยเหตุผล
7. ในโลกที่ปกครองด้วยเหตุผล ความจริงจะเป็นเช่นเดียวกับความดีและความถูกต้อง (และความงาม) จะไม่ขัดแย้งกันระหว่างอะไรเป็นความจริงกับอะไรเป็นความถูกต้อง (ฯลฯ)
8. วิทยาศาสตร์ เช่นนี้..ถือเป็นกระบวนทัศน์ (paradigm) ที่เป็นประโยชน์สำหรับความรู้ต่างๆของสังคม วิทยาศาสตร์เป็นกลางและเป็นภววิสัย นักวิทยาศาสตร์ผู้ผลิตความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ด้วยความสามารถที่ไม่มีอคติ ต้องมีอิสระในการเจริญรอยตามหลักเกณฑ์ของเหตุผล ไม่ถูกชักจูงด้วยสิ่งอื่น (เช่น เงินหรืออำนาจ)
9. ภาษา หรือวิธีการแสดงออก ใช้ประโยชน์ในการนำเสนอและเผยแพร่ความรู้ ต้องมีเหตุ-ผลด้วย การมีสติในเหตุ-ผลนั้น ภาษาต้องโปร่งใส ใช้ประโยชน์เพื่อแทนโลกที่รับรู้จริงๆด้วยการสังเกตุของจิตใจที่มีสติสัมปชัญญะ ต้องมั่นคงและเป็นภววิสัยเชื่อมวัตถุที่รับรู้กับโลกเข้าด้วยกันด้วยบัญญัติ (ระหว่างสัญลักษณ์และผู้กำหนด)


มีบางหลักฐานที่เป็นบรรทัดฐานของความเป็นมนุษย์ หรือของความทันสมัย- modernism ซึ่งมันช่วยในการบอกกล่าว ตัดสินและอธิบายโครงสร้างสังคมและสถาบันได้อย่างแท้จริง รวมทั้งประชาธิปไตย กฏหมาย วิทยาศาสตร์ จริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

มรดกโลก "เมืองบรูจส์" ประเทศเบลเยียม


บรูจส์เป็นอีกหนึ่งเมืองที่มีเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาเยือนอย่างไม่ขาดสาย เพราะบรูจส์เป็นเมืองที่มีบรรยากาศโรแมนติกและมีภูมิประเทศที่สวยงามรวมไปถึงตึกรามบ้านช่องต่าง ๆ ที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ไว้ทำให้บรูจส์ยิ่งมีเสน่ห์และน่าหลงใหลมากยิ่งขึ้น

ที่ตั้ง บรูจส์ (Brugge หรือ Bruges) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของ West Flanders ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเบลเยียม ศูนย์ประวัติศาสตร์ของเมืองได้รับเลือกให้เป็นเมืองในมรดกโลกของยูเนสโก ตัวเมืองรูปไข่มีเนื้อที่ประมาณ 430 เฮกตาร์ เนื้อที่ทั้งหมดของตัวเมืองมีประมาณกว่า 13,840 เฮกตาร์รวมทั้งอีก 1,075 เฮกตาร์ริมฝั่งทะเลที่เซบรุเยอ (Zeebrugge) บรูจส์มีประชากรทั้งสิ้น 117,073 คน ในจำนวนนั้น 20,000 คนอยู่ในศูนย์ประวัติศาสตร์กลางเมือง บริเวณตัวเมืองและปริมณฑลมีเนื้อที่ 616 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรทั้งหมด 255,844 คน ทางตอนเหนือของเมืองมีลำน้ำที่ใช้ในการคมนาคมรอบ ๆ ได้ ทำให้บรูจส์เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “เวนิสเหนือ”



ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ บรูจส์มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เพราะเคยเป็นเมืองท่าและมีความสำคัญในทางศิลปะในยุคจิตรกรรมยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้นในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 และบรูจส์ก็เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของเมืองประวัติศาสตร์ยุคกลาง ซึ่งยังคงรักษาเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ไว้ได้ในช่วงวิวัฒนาการหลายศตวรรษที่ผ่านมา


                                    



รูปแบบศิลปะและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม อาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่ล้วนถูกสร้างขึ้นในแบบโกธิคยุคดั้งเดิมและยังสามารถรักษาเอาไว้ได้จนถึงปัจจุบัน ในฐานะที่เป็นเมืองหลวงทางการพาณิชย์และวัฒนธรรมเมืองหนึ่งของยุโรป บรูจส์ได้พัฒนาสายสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับส่วนต่าง ๆ ของโลก และมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับงานจิตรกรรมสายพริมิทีฟ เฟลมมิช (school of Flemish Primitive painting)


 

 


แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง ทะเลสาบเล็กๆ ย่านใจกลางเมืองที่เรียก ทะเลสาบแห่งความรัก (The lake of love) มีบรรยากาศร่มรื่นชวนฝัน รอบ ๆ สวนสาธารณะค่อนข้างเงียบทำให้ผู้ที่มาเยือนรู้สึกเหมือนได้ออกห่างจากความเร่งรีบและการที่ต้องทำนู่นทำนี่อยู่ตลอด ที่นี้เป็นที่อาศัยของหงส์มันมักจะอยู่กันเป็นคู่ ๆ ยิ่งทำให้บรรยากาศโรแมนติกมากยิ่งขึ้น จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเป็นจำนวนมากในวันหยุด



ที่มา http://travel.thaiza.com/

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%8A

http://www.thaiwhic.go.th/heritageList.aspx?states=Belgium%20(%E0%BA%C5%E0%  C2%D5%C2%C1)